รถด่วนอวกาศ 999 (ญี่ปุ่น: 銀河鉄道999 Ginga Tetsudō Surī Nain ?) (อังกฤษ: Galaxy Express 999) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นของเลจิ มัตซึโมโตะ ตีพิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2520 จำนวน 21 เล่ม ต่อมาได้ถูกสร้างเป็นอะนิเมะ ละครวิทยุ และละครเพลง ในประเทศไทยตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2526 (ก่อนที่จะมีลิขสิทธิ์การ์ตูน) โดยสำนักพิมพ์เสริมมิตร แต่พิมพ์ได้เพียง 2 เล่ม ก็เลิกไป ในปีเดียวกัน สำนักพิมพ์สมปรารถนานำไปจัดพิมพ์ต่อ โดยทีมงานชุดเดิมเป็นผู้จัดทำ จนถึงเล่ม 16 ก็หยุดพิมพ์โดยไม่จบเรื่อง [1] จากนั้นได้ตีพิมพ์ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ เมื่อ พ.ศ. 2549 ออกมา 14 เล่ม จบภาคแอนโดรเมดา ------------------- รถด่วนอวกาศ 999 มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับโลกอนาคต โฮชิโนะ เท็ตสึโร่ เด็กหนุ่มกำพร้า มองเห็นแม่ถูกหุ่นจักรกลที่ล่ามนุษย์เป็นงานอดิเรก สังหารไปต่อหน้าต่อตาเพื่อนำร่างกายมาสตัฟเป็นเครื่องประดับ เท็ตสึโร่มุ่งหวังที่จะเปลี่ยนร่างกายของตนให้เป็นเครื่องจักร เพื่อกลับมาล้างแค้นให้แม่ เขาได้พบกับ เมเทล หญิงสาวลึกลับผู้ยื่นข้อเสนอให้ เท็ตสึโร่ โดยสารรถด่วนอวกาศสาย 999 มุ่งสู่ดาวจักรกล เพื่อเปลี่ยนร่างกายเป็นเครื่องจักรที่นั่น โดยมีข้อแม้ว่าเธอจะต้องเดินทางไปด้วย ............................. รถด่วนอวกาศ 999 ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์ (อะนิเมะ) และภาพยนตร์การ์ตูนสำหรับฉายในโรง หลายครั้ง ดังนี้
ตัวละคร
ชื่อเรื่องเดิมในภาษาญี่ปุ่น: Ginga Tetsudo 999 ผู้แต่ง: มัทสึโมโต้ เรอิจิ สำนักพิมพ์: Shogakukan รายละเอียด: ณ ทุ่งร้างแห่งหนึ่งในโลกอนาคต ขณะที่หญิงผู้ยากไร้กับลูกชายตัวน้อยของเธอกำลังมุ่งหน้าสู่เพิงพัก มนุษย์จักรกลนักล่าปรากฏกายขึ้นและสังหารแม่ของเด็กน้อยอย่างเลือดเย็นเพียง เพราะต้องการเอาร่างไร้ชีวิตของเธอไปประดับฝาผนัง ก่อนสิ้นลม แม่ได้สั่งเสียให้ "เท็ตสึโร่ โฮชิโนะ" เด็กน้อย ออกเดินทางไปกับรถด่วนอวกาศ 999 เพื่อค้นหาดวงดาวที่จะทำให้เด็กน้อยมีชีวิตเป็นอมตะ ด้วยความช่วยเหลือจาก "เมเทล" หญิงงามผู้ปรากฏกายขึ้นอย่างลึกลับ ทั้งสองได้ออกเดินทางโดยรถด่วนอวกาศ 999 มุ่งหน้าไปยังกลุ่มดาวแอนโดรเมดา และนับแต่วินาทีนั้น การผจญภัยเพื่อชีวิตอันเป็นอมตะก็เริ่มต้นขึ้น โดยเท็ตสึโร่ไม่ตระหนักรู้เลยสักนิดว่าอะไรกำลังรอคอยเขาอยู่เบื้องหน้า.... ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1977 ก่อนจะรวมพิมพ์เป็นเล่มจำนวน 20 เล่มจบโดยสำนักพิมพ์ Shogakukan ภาคภาษาไทย จัดพิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์เสริมมิตรเมื่อปี พ.ศ.2526 แต่พิมพ์ได้เพียงไม่กี่เล่มก็เลิกไป ในปีเดียวกัน สำนักพิมพ์สมปราถนานำไปจัดพิมพ์ต่อโดยมีทีมงานชุดเดิมจากเสริมมิตรหลายคน เป็นผู้จัดทำ จนถึงเล่ม 16 ก็หยุดพิมพ์โดยไม่จบเรื่อง จนกระทั่งปี 2549 สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจจึงได้นำมาจัดพิมพ์ใหม่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ Shogakukan |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น