11 ธันวาคม 2554

ความฝันในหอแดง (红楼梦) ปีค.ศ. 1977










ความฝันในหอแดง
ความรักในหอแดง (อังกฤษ: The Dream of the Red Chamber; จีน: 红楼梦 หงโหล่วเมิ่ง) เป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนร่วมกับสามก๊ก ไซอิ๋ว และซ้องกั๋ง แต่งโดยเฉาเสี่ยฉิ้น ประมาณปีพ.ศ. 2297 แต่เขาเสียชีวิตก่อนแต่งจบ มีนักประพันธ์มากมายแต่งเรื่องต่อให้จบ ฉบับที่ได้รับการยอมรับคือฉบับของเกาเออ เป็นเรื่องความรักของหนุ่มสาวในตระกูลเจี้ย ซึ่งเป็นตระกูลชั้นสูงในสมัยราชวงศ์ชิง ตัวเอกคือเจี้ยเป่าอี้และหลินไต้อี้ ซึ่งถูกคนในตระกูลกีดกันเรื่องความรัก นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวของตัวละครอื่นๆ ในตระกูลด้วย ความฝันในหอแดงได้สะท้อนจารีตประเพณีและความเป็นอยู่ของชาวจีนในยุคนั้นเป็นอย่างดี
Hong Lou Meng, translated as a Dream of Red Mansions,
sometimes translated as the Dream of the Red Chamber,
the great classical Chinese novel written in the
mid-eighteenth century during the reign of
Emperor Chien-lung of the Ching Dynasty

2. ความฝันในหอแดง (红楼梦) แต่งขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1784) โดยเฉาเสี่ยว์ฉิน แต่น่าเสียดายที่เฉาเสี่ยว์ฉินยังแต่งไม่จบก็เสียชีวิตเสียก่อน ภายหลังมีนักเขียนมากมายแต่งต่อ แต่ฉบับที่เป็นที่ยอมรับก็คือของเกาเอ้อ เนื้อหาว่าด้วยเรื่องราวความรักชายหญิง ความลุ่มหลงในโลกียะของมนุษย์ และความเสื่อมของระบบศักดินาของจีนในสมัยราชวงศ์ชิง โดยสะท้อนผ่านครอบครัวสกุลเจี่ยที่มั่งคั่ง
     
       ความฝันในหอแดงถูกสร้างเป็นละครและหนังหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่นชอว์บราเธอร์สของเล่อตี้ในปี ค.ศ.1962, เวอร์ชั่นที่หลินชิงเสียเป็นเจี่ยเป่าอี้ว์ในปีค.ศ. 1977 แต่ฉบับที่ได้รับความนิยมและถูกยกให้เป็นผลงานคลาสสิกไปแล้วก็คือ ฉบับปีค.ศ. 1987 ของสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี


วรรณกรรม ความรักในหอเเดง(红楼梦) เป็นหนึ่งในสี่วรรณกรรมชิ้นเอกของจีน


ผู้เเต่งคือ เฉาเสว่ฉิน เป็นบุตรหลานขุนนางในสมัยราชวงค์ชิง

เนื้อหาของวรรณกรรมเรื่องนี้ พูดถึงชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวไฮโซ ของสี่สกุล
ซึ่งศูนย์กลางอยู่ที่พระเอกที่ชื่อ เจี่ยเป่ายวี่ 贾宝玉



เนื้อหาหลักเกี่ยวกับความรักระหว่างชายหญิง รักสามเส้า ความอิจฉาริษยา
ความบาดหมาง เเละสังคมศักดินา เเละดำเนินเรื่องราวโดยเริ่มต้นที่ความรุ่งเรื่องของสกุลเจี่ย
เนื่องจาก บุตรสาวในสกุลได้รับการโปรดจากกษัตริย์จนกลายเป็นพระสนม
จึงทำให้สกุลเจี่ย ถึงคราวรุ่งเรือง ทุกคนในสกุลนี้ใช้ชีวิตเหมือนความฝันครั้งใหญ่
ไม่ต้องกังวลเรื่องปากท้อง มีชีวิตที่หรูหรา เเต่ภายใต้ความหรูหราที่เป็นเปลือกนอก
ซ่อนความทุกข์ระทมในหลากหลายรูปเเบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรัก มิตรภาพ
ชนชั้น การกู้หนี้ยืมสิน การสร้างภาพ



จนในที่สุด ด้วยเหตุผลทางการเมืองสกุลนี้ถึงคราวล่มสลาย
ความฝันครั้งใหญ่ได้ผ่านไป ตัวละครเเต่ละตัวถึงได้ตื่นจากความฝันเเละเผชิญหน้า
กับโลกเเห่งความเป็นจริง เป็นโศกนาฎกรรมที่ชวนสลดหดหู่

"ความฝันในหอแดง" เปรียบได้กับ สิ่งลวงตาทางโลก"     
        "หอแดง" ก็เหมือนสถานที่อันสวยสดอันซึ่ง เหล่าชาย-หญิงต่างลุ่มหลงในตัณหาต่างวาดฝัน
และหมายตาเอาไว้ว่าจะได้เข้าไป แต่แท้จริงแล้ว "หอแดง" นั้นสุดท้ายก็เป็นเพียงภาพลวงตา
เช่นเดียวกับ "เป่าอี้" พระเอกของเรื่องที่มีชาติกำเนิดดั้งเดิมเป็นเพียงก้อนศิลาก้อนหนึ่งใน 36,501 ก้อน
ที่เจ้าแม่นู-กว๋า โยนทิ้ง แต่ด้วยวัยอันเยาว์ "เป่าอี้" ไม่เข้าในสัจธรรมดังกล่าวนี้แม้ใครๆ จะทัดทานก็ไม่ยอมเชื่อฟัง
     
        มีบทกลอนตอนหนึ่งที่ เฉาเสี่ยฉิ้น และเกาเออ ผู้แต่ง (ฉบับแปลโดย วรทัศน์ เดชจิตรกร) เขียนเอาไว้อย่างลึกซึ้งว่า
     
        เมื่อใดความไม่จริงสมมติเป็นความจริง
        ความจริงกลายเป็นความไม่จริง
        ที่ใดความไม่เป็นสมมติเป็นความเป็น
        ความเป็นกลายเป็นความไม่เป็น
        .................
        สถาพรดุจสวรรค์และพิภพ
        มิมีรักใดแม้นานนับดับสูญ
        นิรันดรดุจแสงและเงา
        มิมีหนี้สายลมแสงจันทร์ผันคืน
        .................
        วสันต์เศร้าสารทระทม
        ล้วนก่อขึ้นด้วยตนเอง
        พักตร์ดุจบุปผา ลักษณ์ดุจจันทรา
        ล้วนไร้สาระในอวสาน

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ วรรณกรรมเรื่องนี้

- ความจริง วรรณกรรมเรื่องนี้ จำลองมาจากชีวิตจริงของผู้เเต่ง (เฉาเสว่ฉิน)
ข้อพิสูจน์คือ สกุลไฮโซในเรื่อง ตรงกับชีวิตของคนรุ่นพ่อของผู้เเต่ง
ทั้งในเเง่สมาชิกครอบครัว เเละในเเง่ชีวิตการเมืองของพ่อเฉาเสว่ฉิน

-ยุคสมัยที่ระบุในวรรณกรรมเรื่องนี้จนบัดนี้ยังเป็นที่ถกเถียง
เพราะในวรรณกรรมไม่ได้ระบุชัดเจน เเต่ขณะเดียวกันกลับอธิบายสถานที่
เเละช่วงเวลาเทศกาลได้อย่างชัดเจน กลายเป็นปริศนาที่วางอยู่บนข้อมูล
ที่มีมูลด้านวัฒนธรรมเเละประเพณีกองโต

-ในวรรณกรรมระบุถึงเมือง ฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงสมัยราชวงค์ถัง
เเต่สถาปัตยกรรมที่พูดถึงนั้นเป็นสถานปัตยกกรรมเเบบปักกิ่ง

-นักวิชาการสันนิษฐานว่า เฉาเสว่ฉินไม่ได้ขาดความรู้ด้านประวัติศาสตร์
เพียงเเต่เขาเเต่งนิยายขึ้นโดยหลีกเลี่ยงการจาบจ้วงราชสำนักในสมัยของตัวเอง(ยุคราชวงค์ชิง)
จึงนำเรื่องราวความเหลวเเหลกในราชสำนักเเละชนชั้นสูงในสมัยชิงตีเเผ่ออกมาในรูปเเบบของนิยายย้อนยุค

-วรรณกรรมเรื่องนี้มีทั้งหมดร้อยยี่สิบตอน เเต่ผู้เเต่งเฉาเสว่ฉินเขียนไว้เพียงเเปดสิบตอน
เเละ เกาเอ้อ ได้สานต่อที่เหลืออีกสี่สิบตอน

-วรรณกรรมเรื่องนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่ถูกตีพิมพ์มากถึงเจ็ดสิบครั้ง เเละ
ฉบับคัดลอกด้วยมือถึงสี่สิบกว่าครั้ง ในช่วงสมัยราชวงค์ชิง

-ต้นฉบับ นักวิชาการเชื่อว่า คือ นิยายเรื่อง สือโถวจี้(เรื่องราวของหินก้อนหนึ่ง)
ซึ่งหินในที่นี้น่าจะเป็น หินหยก ซึ่งเป็นชื่อของพระเอก

-วรรณกรรมเรื่องนี้ได้อธิบายบรรยากาศ เเฟชั่น สังคม เเละ
วัตถุของยุคสมัยหนึ่งออกมาอย่างละเอียดยิบ เเต่ในขณะเดียวกันก็ทิ้งปริศนาไว้มากมาย

-วรรณกรรมเรื่องนี้เป็นที่ถกเถียงกันจนถึงทุกวันนี้
โดยนักวิชาการเรียกศาสตร์เเขนงนี้ว่า红学(หง-เสว)ศาสตร์ที่ว่าด้วยวรรณกรรมเรื่อง
ความรักในหอเเดง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น