10 ธันวาคม 2554

ซินเดอเรลล่า Cinderella ค.ศ. 2004











ซินเดอเรลล่า
ซินเดอเรลล่า (อังกฤษ: Cinderella; ฝรั่งเศส: Cendrillon) เป็นเทพนิยายปรัมปราที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงทั่วทั้งโลก มีการดัดแปลงเป็นรูปแบบต่างๆ มากมายกว่าพันครั้ง[1] เนื้อเรื่องเกี่ยวกับเด็กสาวกำพร้าผู้หนึ่งที่อยู่ในอุปถัมภ์ของแม่เลี้ยงกับพี่สาวบุญธรรมสองคน แต่ถูกทารุณและใช้งานเยี่ยงทาส ต่อภายหลังจึงได้พบรักกับเจ้าเมืองหรือเจ้าชายผู้สูงศักดิ์ ตำนานซินเดอเรลล่ามีปรากฏในเทพนิยายหรือนิทานพื้นบ้านประเทศต่างๆ ทั่วทั้งโลกโดยมีชื่อของตัวเอกแตกต่างกันออกไป ทว่าฉบับที่มีชื่อเสียงที่สุดเป็นของนักเขียนชาวฝรั่งเศสชื่อ ชาร์ลส แปร์โรลต์ ในปี ค.ศ. 1697 ซึ่งอิงมาจากวรรณกรรมของ จิอัมบัตติสตา เบซิล เรื่อง La Gatta Cenerentola ในปี ค.ศ. 1634 ในเรื่องนี้ตัวเอกมีชื่อว่า เอลลา (Ella) แต่แม่เลี้ยงกับพี่สาวใจร้ายของเธอพากันเรียกเธอว่า ซินเดอเรลล่า (Cinderella) อันหมายถึง "เอลลาผู้มอมแมม" ซึ่งกลายเป็นชื่อเรียกเทพนิยายในโครงเรื่องนี้โดยทั่วไป
ซินเดอเรลล่า ได้รับการโหวตจากเด็กๆ กว่า 1,200 คนจากการสำรวจโดย cinema chain UCI เป็นเทพนิยายยอดนิยมอันดับหนึ่งในดวงใจ เมื่อปี ค.ศ. 2004 ผลสำรวจจาก google trend เมื่อปี ค.ศ. 2008 ก็พบว่า ซินเดอเรลล่า เป็นเทพนิยายที่ได้รับความนิยมและกล่าวถึงมากที่สุดในโลกอินเทอร์เน็ต

ประวัติ

โครงเรื่องของซินเดอเรลล่าน่าจะมีกำเนิดมาแต่ยุคสมัยคลาสสิก นักประวัติศาสตร์กรีกชื่อ สตราโบ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ จีโอกราฟิกา เล่ม 17 ตั้งแต่ราวหนึ่งร้อยปีก่อนคริสตกาล ถึงเรื่องราวของเด็กสาวลูกครึ่งกรีก-อียิปต์ผู้หนึ่งชื่อ โรโดพิส (Rhodopis) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเนื้อเรื่องที่เก่าแก่ที่สุดของซินเดอเรลล่า[4] โรโดพิส (ชื่อมีความหมายว่า "แก้มกุหลาบ") ต้องอยู่ซักเสื้อผ้ามากมายขณะที่เหล่าเพื่อนหญิงรับใช้พากันไปเที่ยวงานเต้นรำซึ่งฟาโรห์อามาซิสทรงจัดขึ้น นกอินทรีย์นำรองเท้าของเธอที่ประดับกุหลาบไปทิ้งไว้ที่เบื้องบาทของฟาโรห์ในนครเมมฟิส พระองค์ตรัสให้สตรีในราชอาณาจักรทดลองสวมรองเท้านี้ทุกคนเพื่อหาผู้สวมได้พอเหมาะ โรโดพิสสวมได้พอดี ฟาโรห์ตกหลุมรักเธอและได้อภิเษกสมรสกับเธอ ต่อมาเนื้อเรื่องนี้ปรากฏอีกครั้งในงานเขียนของเคลาดิอุส ไอเลียนุส (Claudius Aelianus) แสดงให้เห็นว่าโครงเรื่องซินเดอเรลล่าเป็นที่นิยมมาตลอดยุคคลาสสิก บางทีจุดกำเนิดของตัวละครอาจสืบย้อนไปได้ถึงช่วง 600 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งมีสตรีในราชสำนักเธรซคนหนึ่งใช้ชื่อเดียวกันนี้ และเป็นผู้รู้จักมักคุ้นเป็นอย่างดีกับ อีสป นักเล่านิทานยุคโบราณ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น